ia

......หมวดโรงอาหารสัตว์

หน้าที่หลักของหมวดโรงอาหารสัตว์ ทำการจัดการซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์และผสมอาหารข้นสำหรับบริการแต่ละหน่วยการผลิตในฟาร์มสัตวศาสตร์ และสนับสนุนการเรียน การสอนการวิจัย และผสมอาหารข้นให้บริการแก่โครงการวิจัยต่างๆ ที่มาขอใช้บริการ และรับจ้างการผสมอาหารข้น กำลังการผลิตของหมวดโรงอาหาสัตว์สามารถผสมอาหารข้นเฉลี่ย 39.64 ตันต่อเดือน จากรอบปีที่ผ่านมาได้ได้ให้บริการแก่หน่วยต่างๆ ดังนี้

ประสิทธิภาพการผลิตปัจจุบัน

หมวด/หน่วยงาน

ปริมาณอาหารข้นที่ใช้ (ตัน)

หมวดสัตว์ปีก

67.77

หมวดสุกร

161.63

หมวดกระต่าย

5.01

หมวดผลิตสัตว์ผสมผสาน

33.77

หมวดโคเนื้อ

186.45

หมวดโคนม

14.43

หมวดเทคโนโลยีการสืบพันธุ์และผสมเทียม

6.56

อื่นๆ

1.68

รวม

475.62

 

พื้นที่และอาคารปฏิบัติงาน

พื้นที่ทั้งหมด                                2 ไร่       
พื้นที่โรงเรือนบริการ                 300 ตร.ม.


ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การฝึกงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1. วิชาฝึกงานหน่วย 3 (117 283)

เป็นการฝึกงานพื้นฐานด้านการจัดการโรงผสมอาหารและเรียนรู้วัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ทั้งสองภาคการศึกษา จำนวน 420 คน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าฝึก โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการบดอาหาร การผสมอาหาร และวัตุดิบสำคัญที่ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ปีก สุกร และโคเนื้อโคนม

2. วิชาฝึกงานหน่วย 5 (117 385)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางในการจัดการด้านการผลิตโคเนื้อ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ของภาควิชาสัตวศาสตร์จำนวน 75 คน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ ฝึกการตรวจสอบการปลอมปนอาหารสัตว์ การเตรียมไวตามินและแร่ธาตุและการผสมในสูตรอาหาร การตรวจสอบสารพิษบางชนิดในวัตถุดิบที่ค้างนานา เช่น เชื้อรา สารอะฟลาท็อกซิน การฝึกผสมสูตรอาหารโคเนื้อ โคนมรีดนม สุกร ลูกสุกร เป็นต้น

การปฏิบัติงานสนามในรายวิชาต่างๆ

1. กลุ่มรายวิชาที่ใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานจำนวน 4 รายวิชา

ได้แก่ 117 401 การผลิตสัตว์ปีก, 117 402 การผลิตสุกร, 117 403 การผลิตโคเนื้อ, 117 404 การผลิตโคนม เป็นการฝึกปฏิบัติการที่เน้นการเตรียม การตรวจสอบวัตถุดิบที่เน้นในการใช้ในสัตว์ชนิดต่างๆ และวัตถุพิบที่สามารถใช้เป็นแหล่งทดแทนที่แตกต่างจากการฝึกงานปกติ เช่น กากมันสำปะหลังจากโรงงานผลิตเอธานอล กากถั่วลิสง การถั่วเหลือง กากปาล์มจากโรงงานสกัดน้ำมัน กากเต้าหู้ กากผงชูรส กากมะเขือเทศจากโรงงานอุตสากรรม ขนไก่ป่น หนังป่น การคำนวณสูตรอาหาร สูตรไวตามินแร่ธาตุสำหรับสัตว์ในระยะต่างๆ เป็นต้น

2. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้พื้นที่การทดลอง

-

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 6 คน, ปริญญาเอก จำนวน 4 คน


ภารกิจด้านการวิจัย

โดยมากเป็นการให้บริการผสมอาหารเพื่อใช้ในงานวิทยานิพนธ์่ของนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก และงานวิจัยของคณาจารย์


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

หมวดโรงอาหารสัตว์มีการให้บริการให้แก่หลายคณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่น คณะสัตวแพทย์ คณะแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ ในการช่วยจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์และผสมอาหารสัตว์ทดลองตามที่หน่วยงานนั้นๆขอมา นอกจากนี้ยังบริการผสมอาหารให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ซึ่งไม่มีเครื่องผสมอาหารขนาดใหญ่ และช่วยบริการด้านการผสมอาหารปลาให้กับภาควิชาประมง เป็นต้น


แนวทางการพัฒนา

เพื่อให้การบริการผสมอาหารสัตว์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีความปลอดภัยทางหมวดจึงมีความต้องการรถขนส่งและเคลื่อนย้ายวัตถุดิบภายในโรงอาหาร เนื่องจากปัจจุบันใช้คนงานในการขนส่งและเคลื่อนย้ายวัตถุดิบแต่ละกระสอบ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ง่าย และการบริการจะเป็นไปได้ค่อนข้างล่าช้าไม่ทันต่อความต้องการบริการ


แผนที่หมวดโรงอาหารสัตว์

-


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปี 2550 หมวดพืชอาหารสัตว์ >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2549-2550
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 083 ฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ จำนวน 140 คน 96 ชั่วโมง (6 ตุลาคม 2548 – 21 ตุลาคม 2548)
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 083 ฝึกงานนักศึกษา จาก ม.ราชภัฎอุดรธานี จำนวน 4 คน 96 ชั่วโมง (6 ตุลาคม 2548 – 21 ตุลาคม 2548)
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 084 ฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ จำนวน 39 คน ภาคต้น ปีการศึกษา 2549 (16 มิถุนายน – 15 กันยายน 2549)
  • บริการการเรียนการสอนวิชาการผลิตสุกร 117402 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ (วัตถุดิบอาหารสัตว์ สำหรับเลี้ยงสุกร กรกฎาคม 2549)
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการวิชาการผลิตสัตว์ปีก 117401 (การผสมอาหารสัตว์ปีก ธันวาคม)
  • 2548
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 083 ฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 084 ฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
  • เป็นผู้ร่วมสอนบทปฏิบัติการวิชาหลักการผลิตสัตว์เบื้องต้น 117 101 นักศึกษาชั้นปีที่ 1คณะเกษตรศาสตร์
  • ให้บริการวิชาการผลิตสุกร 117 402 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2549-2550
  • ปัญหาพิเศษ และโครงการส่งเสริมทักษะการผลิตสัตว์ชุมชนสัตวบาล (ตุลาคม 2548-มีนาคม 2549) และ (กรกฏาคม 2549 – ตุลาคม 2549)
  • เตรียมวัตถุดิบอาหารสัตว์, ไวตามิน,แร่ธาตุ การผสม, การบด และการอัดเม็ดสำหรับงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท - นางสาวอมรรัตน์ วันอังคาร - นางสาวอุษณีภรณ์ สร้อยเพ็ชร - นางสาวจริญา มุ่งม่าน - นางสาวศุภวรรณ ขันธวิชัย - นางสาวรัชดาภรณ์ ลุนสิน - นางสาวนวรัตน์ เสมะกนิษฐ์ - นางสาวนพอร - นายสว่าง กุลวงษ์ - นายวันชนะ พิชวงศ์ - นายวีระยุทธ คำภูมี - นายสุนทร เกไกรสาร - นางสาวกมลทิพย์ พิลาแดง - นางสาวรัตนา คำสีลา - นายอำไพวรรณ สุขสันติ
  • เตรียมวัตถุดิบอาหารสัตว์, ไวตามิน,แร่ธาตุ การผสม, การบด และการอัดเม็ดสำหรับงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก - นายณรงค์ชัย ศิริเหล่าไพศาล - นายชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร - นางสาวสุวรรณี แสนทวีสุข - นางสาวดาราพร ปรึ่มพรชัย - นายสราวุธ ศรีงาม - นายพีรพจน์ นิติพจน์ - นางสาวศรีสุดา สุทธิมั่น - นางสาวสมคิด เดชะคำภู (คณะแพทยศาสตร์ สาขาเคมีทางการแพทย์)
  • โครงการวิจัย การใช้ประโยชน์ของสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม แป้งมันสำปะหลัง และกรดซิตริกในอาหารเป็น (รศ.เทอดศักดิ์ คำเหม็ง)
  • โครงการการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของรำข้าว และรำข้าวสกัดน้ำมันโดยขบวนการหมักด้วยกรดและเอ็นไซม์ในอาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยว และสัตว์น้ำ (รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ)
  • การศึกษาและพัฒนาการผลิตและการใช้สมุนไพรไทยทดแทนสารต้านจุลชีพ และสารสังเคราะห์ เติมอาหารไก่ และสุกร (รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ)
  • 2548
  • ให้บริการการผสมอาหารและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการวิจัย วิทยานิพนธ์ และปัญหาพิเศษ แก่นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 10 คน นักศึกษาปริญญาเอก จำนวน 4 คน และโครงการวิจัยจำนวน 4 เรื่อง

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2549-2550
  • ผสมอาหารและอัดเม็ดไก่เนื้อ คณะสัตวแพทย์ (ผศ.สมบูรณ์ แสงมณีเดช) -
  • อัดเม็ดอาหารหนูทดลอง คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาเคมี (รศ.ดร.พวงรัตน์ ยงวนิชย์)
  • โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจร ภาควิชาประมง (อบรมเกษตรกรอัดเม็ดอาหารปลา โดยการสาธิต 17-19 พฤษภาคม 2549)
  • หัวหน้าโครงการผลิตไก่ไข่เชิงธุรกิจ และโครงการผลิตไข่ไก่ปลอดสารพิษ (ไข่ไก่อินทรีย์)
  • ดูแลการเลี้ยงและจำหน่ายผลผลิตคอก,ไก่ไข่อินทรีย์ (200 ตัว) - ดูแลการเลี้ยงและจำหน่ายผลผลิตคอก,ไก่ไข่ในบ่อปลา (ไก่ไข่ 750 ตัว)
  • ดูแลการเลี้ยงและจำหน่ายผลผลิตคอก, ไก่ไข่บนคันบ่อ (ไก่ไข่ 1,500 ตัว)
  • 2548
  • ให้ความอนุเคราะห์ในการอบรมอาหารสุกรและอาหารไก่ จำนวน 2 ครั้ง
  • ให้ความอนุเคราะห์ในการอบรมอาหารปลา จำนวน 2 ครั้ง
 
  • 2548
  • ในส่วนของหมวดพืชอาหารสัตว์ได้บริการงานบริการให้ความอนุเคราะห์และศึกษาดูงาน ได้ให้บริการวัสดุอุปกรณ์และให้คำปรึกษาแก่บุคคลภายนอก ภายใต้ความเห็นชอบของหัวหน้าภาควิชา อาทิเช่น การขอใช้ตู้อบตัวอย่างพืช การขอพันธุ์หญ้าเพื่อไปขยายพันธุ์ การขอคำปรึกษาในการปลูก การทำหญ้าแห้ง เป็นต้น